วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555


สุขศึกษามาจากคำว่า สุขภาพ รวมกับคำว่า การศึกษา” สุขภาพหมายถึงสภาวะที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การศึกษาหมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้(Cognitive)เจตคติ(Affective) และการปฏิบัติ(Psychomotor) ดังนั้นสุขศึกษาหมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมด้านสุขภาพ แต่ใช่ว่าได้รับความรู้แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ทันที ต้องมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากการมีพฤติกรรมเดิมๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ปล่อยตัวเองให้อ้วน น้ำหนักเกิน ซึ่งปกติก็ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้เลย ต่อมาเมื่อได้รับความรู้ว่าการมีน้ำหนักเกินทำให้เกิดโรคตามมาได้หลายโรค จึงคิดได้ว่าควรลดน้ำหนักเพื่อไม่ให้เป็นโรค เมื่อคิดได้ดังนี้แล้วก็พร้อมที่จะลงมือทำ และวางแผนไว้ว่าจะมีวิธีการลดน้ำหนักอย่างไร รับประทานอาหารแบบไหน ออกกำลังกายด้วยวิธีใด และก็ถึงเวลาลงมือทำ การลดน้ำหนักก็เหมือนพฤติกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลา ไม่ได้ทำแค่ครั้ง หรือ 2 ครั้งแล้วจะเห็นผล ยกตัวอย่างเช่น การอ่านหนังสือ ก็ต้องทำบ่อยๆจึงจะเกิดความเคยชิน อ่านแล้วไม่ง่วงนอน หลังจากที่ได้ลงมือทำเป็นประจำแล้ว ก็จะเกิดเป็นนิสัย เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือ เมื่อน้ำหนักลดลงแล้ว ก็ยังคงทำต่อไปเช่นเดิม ทำให้ไม่กลับมาอ้วนอีก และร่างกายยังแข็งแรงด้วย จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการมีสุขภาพดีนั้นอาจทำได้ยาก แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม(เดิมๆ) ที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีนั้นยากยิ่งกว่า เพราะนอกจากความรู้ใหม่ที่ได้รับจะไปเปลี่ยนแปลงความรู้เดิม ซึ่งไปนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้ว ยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงเจตคติซึ่งถือว่าเปลี่ยนได้ยากเพราะฝังลึกอยู่ในจิตใจ เมื่อเปลี่ยนความรู้แล้วแต่ไม่เปลี่ยนเจตคติ พฤติกรรมก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก็ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล นักศึกษาสุขศึกษาต้องไปให้สุขศึกษาแกคนอื่น แต่ตนเองยังไม่ออกกำลังกาย หรือสอนคนอื่นว่าไม่ควรรับประทานอาการสุกๆ ดิบๆแต่ตนเองก็ยังรับประทานลาบดิบ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คงยากที่จะไปสอนให้คนอื่นให้เชื่อเราได้ การที่จะให้คนอื่นเชื่อและทำตามตนเองก็ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแกคนอื่น ใส่ใจสุขภาพให้เป็นนิสัยและปรับเปลี่ยนเจตคติของตนเอง เมื่อมีได้รับสุขศึกษาแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามสุขศึกษาที่ได้รับ ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่เกิดผล ความรู้ที่มีอยู่ก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด






1.      ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด


2.      รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง


3.      ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย


4.      กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด


5.      งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนันและการสำส่อนทางเพศ


6.      สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น


7.      ป้องกันอุบัติเหตุด้วยการไม่ประมาท


8.      ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี


9.      ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ


10. มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสังคม